การจัดการ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)


ในวงจรของการจัดการความรู้ การกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ขององค์กรนับว่าเป็นสิ่งสำคัญซึ่งต้องสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินยุทธศาสตร์ และสามารถเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ขององค์กรได้ ซึ่งรายละเอียดและตัวชี้วัด ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 
1. การเตรียมความพร้อมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transition and Behavior Management) การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ หากพฤติกรรมของคนภายในองค์กรมีความเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันข้อมูลความรู้ ก็จะทำให้มีความรู้และมีความเชื่อมโยงกับความสามารถในการทำงานที่ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานที่สูงขึ้นและเพิ่มผลผลิตขององค์กรมากขึ้น ซึ่งต้องเริ่มต้นที่ผู้บริหารก่อนและขยายผลสู่บุคลากรในทุกระดับการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร (ที่ทุกคนมองเห็น) ปัจจัยที่จะประสบความสำเร็จประกอบด้วย
  1.  โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
  2.  ทีม/ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  3.  มีระบบการติดตามและประเมินผล
  4.  กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน

หากคำพูดเหล่านี้มีอยู่ในองค์กรของเราเป็นจำนวนมากการพัฒนาและการจัดการองค์ความรู้(KM) ขององค์จะประสบความสำเร็จนั้นคงเป็นไปค่อนข้างลำบาก
  1. “ จะ Share ไปทำไม  เดี๋ยวคนอื่นก็เก่งกว่าเรา ”
  2. “ ถ้าบอกไปแล้ว เราก็หมดความสำคัญนะซิ ”
  3. “ เรื่องที่เราทำอยู่นี่ ใครๆก็รู้ทั้งนั้น ไม่เห็นต้อง share เลย ”
  4. “ ยุ่งจะตายแล้ว จะหาเวลาที่ไหนมา share ความรู้กัน ”
  5. “ อย่าพูดดีกว่า เดี๋ยวจะข้ามหน้าข้ามตาหัวหน้า ”
  6. “ เรื่องที่พูดน่าสนใจมาก  แต่ไม่รู้จะทำได้สำเร็จหรือเปล่า อย่าทำดีกว่า ถ้าไม่สำเร็จจะถูกตำหนิเปล่าๆ ”
  7. “ ผมบอกแล้วว่าใช้วิธีเก่าดีกว่า ”
  8. “ พูดเรื่องนี้ไปหลายครั้งแล้ว ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นเลย  เลิกพูดดีกว่า ”

วัฒนธรรมองค์กรต้องเอื้อต่อการจัดการความรู้ (ทำให้อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้)
  1. ไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Trust)
  2.  อิสระในการคิดและการทำงาน (ในทางสร้างสรรค์)
  3.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของวัฒนธรรมองค์กร 

ทำอย่างไรจึงจะทำให้คน “อยาก” เปลี่ยน คิด และทำ (เป็นสิ่งที่ทำยากที่สุด)
  1.  ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
  2.  กฎระเบียบ vs. ความยืดหยุ่น
  3.  สร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็น
  4.  ส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
ข้อพึงระวัง
  1. ต่อเนื่องและทุกคนมองเห็น
  2. บูรณาการในระบบการพัฒนาพนักงานและประเมินผลงาน
2. การสื่อสาร (Communication) เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังดำเนินในเรื่องการจัดการความรู้ ดังนั้นองค์กรต้องมีการวางแผนการสื่อสารที่เป็นระบบและทำการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่จะต้องให้พนักงานในการรถไฟฯทราบวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของการจัดทำการจัดองค์ความรู้ขององค์กร
  1. ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ
  2. ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน
  3. แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
“อยาก” ทำหรือให้ความร่วมมือ


ข้อพึงระวัง
  1. การ “กระทำ” สำคัญกว่าการสื่อสาร คงไม่เกิดประโยชน์หากมีการสื่อสารกันแต่การกระทำไม่ได้เกิดขึ้น
  2. กระตุ้นและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3. กระบวนการและเครื่องมือ (Process & Tool) เป็นแกนหลักของการจัดการความรู้ที่จะช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้สามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือใดนั้นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประเภทของความรู้ พฤติกรรมหรือลักษณะการทำงานของคนในองค์กร รวมถึงวัฒนธรรมขององค์กรและคนในองค์กรซึ่งต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้อย่างเหมาะสม


ช่องทางในการถ่ายทอดความรู้ 


                                                            ตัวอย่างเครื่องมือและกระบวนการ 

4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้ (Training and Learning) วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรและสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการจัดการความรู้ องค์กรควรพิจารณาให้มีการจัดฝึกอบรมในหลายรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์กรเกิดการเรียนรู้ได้สะดวก เช่น การจัดฝึกอบรมในห้องเรียน การจัดฝึกอบรมผ่านระบบ Web-based Training  การทำCoP เป็นต้น นอกจากนี้องค์กรสามารถพิจารณาหัวข้อที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ไปผนวกกับการฝึกอบรมที่มีอยู่ได้ รวมทั้งเอื้อให้เกิดบรรยากาศการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ด้วยตนเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น