การจัดการ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดการความหลากหลาย(Divergence Management)


ความหลากหลาย(Divergence) ทางความคิดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ในหลายๆ กรณีนำไปสู่ความขัดแย้ง(Conflict) ถึงขั้นแตกแยกได้(มีเหตุการณ์ร่วมสมัยให้ได้เห็นมากมาย) ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วความสมดุล(Balance) จะก่อให้เกิดความดีความงามได้เสมอ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการความหลากหลายสู่ความสมดุลเพื่อความดีและความงามตามหลักธรรมชาติ
                     
การจัดการความหลากหลาย(Divergence Management)ให้ได้ผลดี ต้องให้เกียรติตนเอง ลดอัตตา ให้เกียรติคนอื่นที่คิดต่างจากตน อ่อนน้อมเหมือนรวงข้าวเต็มเมล็ดที่จะน้อมต่ำลงเสมอ เปิดใจ(Open Mind)ให้มากขึ้นทุกขณะ เรียนรู้เพื่อเติมเต็ม(full fill)ความรู้เดิมให้งอกงามขึ้น และที่สำคัญที่สุดต้องให้เกิดลักษณะนิสัยแห่งการใฝ่รู้(Insight Habit) เพื่อจัดการความหลากหลายที่เกิดขึ้นตลอดเวลาให้เกิดความสมดุลได้อย่างจีรังยั่งยืน
ประเภทของความหลากหลาย            1. ธรรมชาติเป็นความหลากหลายที่จัดการได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องเข้าไปจัดการ
            2.วัฒนธรรม เป็นความหลากหลายที่เกิดจากมนุษย์ เป็นความหลากหลายที่เข้าไปจัดการได้
แนวทางการจัดการความหลากหลาย
            1. มองภาพรวมทั้งระบบ
            2. เลือกสรรสิ่งที่มีคุณค่า
            3. ตัดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน
            โดยทั้งสามขั้นตอนนั้นจะทำให้ได้ “ความรู้ใหม่” จากความหลากหลายที่นำ (Percieve) ไปทำปฎิสัมพันธ์กับ “ความรู้เดิม” ในคนหรือในองค์กร (Self-interaction) ก่อให้เกิดการ “พัฒนา”ดังภาพ




วิธีการจัดการความหลากหลาย
ความสามารถในการจัดการตนเอง (Self - Management)  โดย
 1. การจัดการโดยความสามารถในการชี้นำตนเอง (Self Directed)  ตามหลักครองตน ครองคน ครองงานและครองเงิน
 2.  ระเบิดออกไปจากภายใน (Intrinsic explosion) โดยอาศัยอิทธิบาท 4
 3. ฝึกความยืดหยุ่นโดย
  3.1. เปิดใจและเปิดรับผ่านการฝึกไว้ใจ  วางใจ  เกรงใจ มั่นใจ
  3.2. การให้เกียรติผู้อื่น โดยผ่านการฝึกกาลเทศะ การฟังเป็นและพูดเป็น การให้คุณค่าต่อเพื่อนร่วมงาน

 4. เทคนิคการสร้างความร่วมมือ
  4.1. หาจุดร่วมที่ต้องใจของผู้ร่วมงาน เพื่อจะได้กำหนดจุดหมายปลายทางร่วมกัน
  4.2. มั่นใจว่ายังมีความรู้มากมายที่คนอื่นรู้แต่เราไม่รู้

 5. ต้องมีความรักต่อสถาบัน หัวหน้างานละเพื่อร่วมงาน
         วิธีการจัดการความหลากหลาย เริ่มที่ตนเองและขยายไปสู่เพื่อนร่วมงานเพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  นำไปสู่การให้คุณค่าในความเป็นมนุษย์ ทำให้รู้สึกมีศักดิ์ศรี เป็นที่ยอมรับ เกิดความร่วมมือ เกิดพลัง และที่สำคัญความสามารถในการจัดการความหลากหลาย ทำให้เกิด “มูลค่าและคุณค่า”เพิ่มอย่างน่าสนใจ ตัวอย่าง โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนำเอาสินค้าที่หลากหลายสายพันธุ์มาใช้ร่วมกัน (Convergence Product) หรือนาฬิกาข้อมือที่บันทึกเพลงได้ถึง 40 เพลง  เป็นต้น คำถามสำหรับนักวิชาการ คือ ทำอย่างไรที่จะสร้างผลงานที่เป็น Convergence Product ออกมาบ้าง เพื่อจะทำให้บัณฑิตที่จบออกไปนั้นมีคุณภาพที่ตอบสนองการทำงานที่ทั้งประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด


การจัดการกับอารมณ์ตนเอง

         การควบคุมอารมณ์ คือ การเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสมสร้างสรรค์ และเป็นที่ยอมรับของสังคม นักเรียนอยู่ในช่วงวัยรุ่นที่มีอารมณ์ไม่มั่นคงนัก จึงมักสูญเสียการวบคุมตนเองได้ง่าย

         การควบคุมอารมณ์ไม่ใช่เป็นการเก็บกด ไม่แสดงออกทางอารมณ์เลย แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะจัดการกับสถานการณ์อย่างมีเหตุผล แสดงออกในทางที่สังคมยอมรับ และมีผลเสียต่อตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจน้อยที่สุด ฉะนั้นการที่วัยรุ่นแสดงความก้าวร้าว หรือเก็บกดอารมณ์เอาไว้ จึงมิใช่การควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสม เพราะความก้าวร้าวนั้นสังคมไม่ยอมรับ ในขณะเดียวกันการเก็บกดอารมณ์ก็ย่อมเกิดผลเสียด้านจิตใจต่อตัววัยรุ่นเอง

         ดังนั้นวัยรุ่นควรเรียนรู้ความเหมาะสมในการแสดงอารมณ์ในแบบที่สังคมยอมรับ

การควบคุมอารมณ์มี 2 ด้าน ได้แก่
1. การควบคุมวิธีการแปลความหมายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราให้เกิดอารมณ์
2. ควบคุมการแสดงออกต่อเหตุการณ์นั้นๆ

การช่วยให้วัยรุ่นควบคุมอารมณ์ มีแนวทางปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. ให้วัยรุ่นยอมรับว่ามีอารมณ์ และกำลังพยายามควบคุมอยู่
2. ใช้สติปัญญาพิจารณาการตอบสนองทางอารมณ์ตามความจริง เช่น ถ้ากำลังอิจฉาก็ให้ยอมรับว่าอิจฉา แม้ว่าจะพยายามปกปิดคนอื่นอยู่ก็ตาม แล้วก็พิจารณาตามความเป็นจริง โดยไม่มีอคติเข้าข้างตนเอง และระบายความไม่พอใจต่างๆ ด้วยการพูดออกมาถึงความรู้สึกที่มีอยู่นั้นกับคนที่เข้าใจ สามารถพูดคุยกันได้ หรืออาจใช้เทคนิคการผ่อนคลายอารมณ์ ก็จะสามารถควบคุมอารมณืไว้ได้มาก
3. พิจารณาที่สาเหตุ หลีกเลี่ยงสาเหตุ และหาแนวทางปรับใจเพื่อเผชิญกับอารมณืทางลบ

         สรุปได้ว่า อารมณ์ทุกอารมณ์นั้นเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยอารมณ์ในแง่ลบ เช่น อารมณ์โกรธ และอารมณ์เศร้าที่มักทำให้เกิดผลเสียต่อบุคคลมาก ดังนั้นบุคคลจึงควรที่จะสำรวจตัวเอง และยอมรับว่าตนเองกำลังอยู่ในสภาวะอารมณ์อะไร และฝึกหัดที่จะระบายและควบคุมตัวเองได้อย่างเหมาะสม และเป็นไปในทางสร้างสรรค์ หรือรู้จักที่จะยับยั้งหรือควบคุมอารมณืที่ไม่เหมาะสมให้ได้ 

 

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดการกับปัญหาความเครียดในการทำงาน

การจัดการกับปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาความเครียดในการทำงาน 2 ปัจจัย นั่นก็คือ

- ภาระงาน (Psychological Demands)
- การควบคุมจัดการ ( Decision Latitude [control] )


1. ภาระงาน (Psychological Demand)

คือ ภาระงานหรือความคาดหวัง ที่ส่งผลกระทบกับแต่ละบุคคล ซึ่งงานที่ทำให้เกิดภาระงานสูงได้แก่
- ปริมาณงานมากเกินไป
- เงื่อนไขตามระยะเวลาที่กำหนดน้อยเกินไป
- ลักษณะงานที่ต้องทำด้วยความเร่งรีบ
- งานที่มีลักษณะซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย
- ลักษณะทางกายภาพที่ต้องฝืนบังคับ เช่น การทำงานท่าเดียวนานๆ

2. การควบคุมจัดการ (Decision Latitude )
คือ ความสามารถของบุคคลในการที่จะตอบสนองภาระงาน  ยกตัวอย่าง เช่น
- ความสามารถในการมอบหมายงาน
- มีอำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหา
- สามารถที่จะปรับเปลี่ยนสภาพงานให้ตรงกับความคาดหวังของแต่ละบุคคล

จากปัจจัยทั้ง 2 อย่างข้างต้น จะได้มาเป็น The Karasek Model ดังภาพนี้



ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ความเครียดออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. ความเครียดสูง

เป็นกลุ่มที่มีภาระงานสูง แต่มีความสามารถในการจัดการต่ำ
ส่งผลให้เกิดอาการทางกาย และทางจิต เช่น
- เหนื่อยล้า
- วิตกกังวล
- ซึมเศร้า
- ท้อแท้
- โรคจิตเวช

2. กระตือรือร้น
เป็นกลุ่มที่มีภาระงานสูง แต่ขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการจัดการควบคุมที่สูง
ความเครียดในกลุ่มนี้ อยู่ในระดับ ปานกลาง
ลักษณะงานจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ มีความก้าวหน้าในการทำงาน มีแรงจูงใจที่จะทำงานให้สำเร็จ
ตัวอย่าง อาชีพ ในกลุ่มนี้ เช่น
- งานในอาชีพที่มีความก้าวหน้าสูง
- งานในตำแหน่งสูง ฝ่ายบริหาร หรือเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างๆ
- ผู้พิพากษา ,ศาสตราจารย์ ,วิศวกร เป็นต้น

3. ความเครียดต่ำ
งานที่มีภาระงานต่ำ และมีการควบคุมที่สูง จะส่งผลให้เกิดความเครียดน้อย
เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความสามารถ และมีความชำนาญเป็นพิเศษ
ตัวอย่าง อาชีพ เช่น
- นักวิทยาศาสตร์
- วิทยากร
เป็นต้น

4. เฉื่อยชา
งานที่มีภาระงานต่ำ และ การควบคุมต่ำ ผู้ปฏิบัติงานถูกปฏิเสธแนวความคิดริเริ่มต่างๆ ส่งผลให้
- ขาดแรงจูงใจ
-ไม่อยากเรียนรู้ เพิ่มเติม

ตัวอย่างอาชีพที่มีลักษณะลักษณะงาน เช่นนี้ คือ
- งานเสมียน - งานขับรถ ขนส่ง - งานบริการบุคคลอื่น เช่น ภารโรง

จากทฤษฏีข้างต้น เราก็จะทราบได้ว่า ความเครียดจะมากขึ้นหากภาระงานสูง และ ความสามารถในการควบคุมต่ำ เราสามารถนำมาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเครียดในการทำงาน ได้ดังนี้
1.  การกำหนดภาระงานให้เหมาะสม
2. เพิ่มความสามารถของพนักงานในการบริหารจัดการงานที่รับผิดชอบ
3. จัดสภาพการทำงานที่เอื้ออำนวยและมีการสนับสนุนทางสังคม
4. จัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม
5. จัดสวัสดิการ หรือ บริการ เพื่อให้การช่วยเหลือพนักงาน


ที่มา http://forums.thaisafetywork.com/index.php?topic=1234.0

การจัดการกับความเครียดระหว่างเตรียมสอบ



การจัดการกับ ความเครียดระหว่าง เตรียมสอบ 
ผ่อนคลายลงบ้าง
                ในสัปดาห์ของการสอบ ระดับความเครียดจะสูงมาก รวมถึงขณะกำลังสอบ และขณะกำลังเรียน นักเรียนส่วนมากจะเกิดอาการ cabin fever (อาการนั่งอยู่กับโต๊ะ ไม่ลุกไปไหนเลย) และเครียดเอา เครียดเอา  ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่มีแรงพอหรือไม่มีเวลาพอที่จะเพาะกายตามตารางปกติ ก็ปล่อยวางมันไว้ก็ได้ อย่างน้อยก็อย่าทำให้ร่างกายคุณหักโหมเกินไป
การนอน และการฝึกที่เกี่ยวข้องกัน
                จำให้ขึ้นใจเลยว่าการนอนน้อยลงนั้น จะเพิ่มความเครียดให้จิตใจ และเพิ่มระดับฮอร์โมน cortisol ซึ่งส่งผลที่ไม่ดีต่อความจำ และระบบความคิด  ตัว cortisol จะมาจากการออกกำลังที่หนักเกินไป และนานเกินไปด้วย   จากงานศึกษาของ British medical journal เรื่อง The Lancet ก็พูดถึงการมีระดับ cortisol ที่สูงๆด้วยการนอนน้อยๆนั้น ส่งผลอย่างถาวร กับการทำลายเซลล์สมองของคุณทำงานผิดปกติ

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก

                    ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก (Proactive Environmental Strategic, PES) คือการวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสำหรับโรงงานหรือสถานประกอบการ เพื่อให้มีการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เน้นการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้ดีกว่ามาตรฐานที่กฏหมายกำหนด โดยใช้มาตรการป้องกันและลดการเกิดของเสียที่แหล่งกำเนิด (รูปที่ 1) เนื่องจากปัจจุบันประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อธุรกิจการค้ามากขึ้น ผู้บริโภคมีความอ่อนไหวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและยินดีที่จะอุดหนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังรูปที่ 2


รูปที่ 1 ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก 

                    รูปที่ 2 แรงผลักดันในการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกของสถานประกอบการ


                    นักบริหารยุคใหม่เชื่อว่า การดำเนินยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมเชิงรุกนี้จะช่วยหนุนให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะที่โลกประสบปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้ทรัพยากรที่เกินพอดี ปัญหามลพิษ สภาวะโลกร้อน การลดถอยของชั้นโอโซน โดยผู้ประกอบการต้องเป็นฝ่ายริเริ่ม เป็นตัวตั้งตัวตีในการริเริ่มปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่รีรอให้มีกฎหมายบังคับหรือไม่ต้องรอให้มีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงค่อยมีการปฏิบัติตามทีหลัง ดังนั้นโรงงานที่มีการดำเนินยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกจะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการป้องกันมลพิษ และสร้างคุณค่าสินค้าโดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (รูปที่ 3)
รูปที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                                                  รูปที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
            การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกต้องสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงผลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลต่อธุรกิจได้ในอนาคต เมื่อผู้ประกอบการมีการจัดทำและดำเนินตามยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแล้ว จะได้รับผลประโยชน์จากการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ดังนี้
  • ช่วยลดลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยมีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต
  • สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์กร เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม โดยส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดี รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
  • เพิ่มโอกาสด้านการขยายตลาดและดำเนินธุรกิจใหม่ในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การเจรจาทางด้านการค้าสะดวกยิ่งขึ้น
  • ลดการเกิดอุบัติเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีแผนรองรับสำหรับแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากสถานการณ์ดังกล่าว ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดค่าฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และ เพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และ เพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทชั้นนำของโลกและบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกสำหรับบริษัทตนเองซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงกับความสามารถทางสมรรถภาพด้านสิ่งแวดล้อมและงบประมาณในการดำเนินการ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้จัดทำโครงการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกให้ บริษัทในกลุ่มปิโตรเคมิคอล จำกัด (มหาชน) พบว่าหัวใจหลักของการพัฒนายุทธศาสตร์ คือ การกำหนดเป้าหมายและการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ซึ่งการวางแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีจะต้องมีข้อมูลที่บ่งชี้สมรรถภาพทางสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ชัดเจน ต้องจัดทำระบบตรวจสอบที่แจกแจงกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งสามารถสะท้อนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ถือผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้อง โดยเป้าหมายของนโยบายที่กำหนดจะต้องเป็นไปตามกฏระเบียบและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท ดังรูปที่ 4
การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกต้องสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงผลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลต่อธุรกิจได้ในอนาคต เมื่อผู้ประกอบการมีการจัดทำและดำเนินตามยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแล้ว จะได้รับผลประโยชน์จากการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ดังนี้
  • ช่วยลดลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยมีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต
  • สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์กร เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม โดยส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดี รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
  • เพิ่มโอกาสด้านการขยายตลาดและดำเนินธุรกิจใหม่ในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การเจรจาทางด้านการค้าสะดวกยิ่งขึ้น
  • ลดการเกิดอุบัติเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีแผนรองรับสำหรับแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากสถานการณ์ดังกล่าว ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดค่าฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และ เพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และ เพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทชั้นนำของโลกและบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกสำหรับบริษัทตนเองซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงกับความสามารถทางสมรรถภาพด้านสิ่งแวดล้อมและงบประมาณในการดำเนินการ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้จัดทำโครงการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกให้ บริษัทในกลุ่มปิโตรเคมิคอล จำกัด (มหาชน) พบว่าหัวใจหลักของการพัฒนายุทธศาสตร์ คือ การกำหนดเป้าหมายและการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ซึ่งการวางแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีจะต้องมีข้อมูลที่บ่งชี้สมรรถภาพทางสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ชัดเจน ต้องจัดทำระบบตรวจสอบที่แจกแจงกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งสามารถสะท้อนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ถือผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้อง โดยเป้าหมายของนโยบายที่กำหนดจะต้องเป็นไปตามกฏระเบียบและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 การพัฒนาเป้าหมายและการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก


                         รูปที่ 4 การพัฒนาเป้าหมายและการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก 
                การกำหนดเป้าหมายสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปจะมุ่งเน้น ให้ความสำคัญที่สุดในการกำจัดหรือลดสิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย ได้แก่ การลดมลพิษต่างๆ ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ด้วย สามารถสะท้อนความต้องการและช่วยบริษัทแลกเปลี่ยนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท และได้ตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ ซึ่งการดำเนินตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก บริษัทฯจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมในระดับกรรมการบริหาร เพื่อกำหนดแผนนโยบาย เพื่อปฎิบัติต่อไป ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องริเริ่มมาตรการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ตามลำดับความสำคัญและความต้องการของตลาด ซึ่งตัวอย่างแนวคิด ได้แก่ ประสิทธิภาพด้านพลังงาน (Energy Efficiency) การตรวจวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม (Eco-Audit) การจัดทำฉลากสีเขียว (Eco-Label) การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Design for Environment) ฉลากคาร์บอน (Carbon footprint) และการลดEcological footprint และอื่นๆ
ที่มา http://www.eng.chula.ac.th/newsletter/index.php?q=node/291

การตลาดในเชิงการจัดการ


การตลาดในเชิงการจัดการ หมายถึง กระบวนการวางแผนและการลงมือปฏิบัติตามแผนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายสินค้า อาทิ การกำหนดราคาสินค้า การส่งเสริมการตลาด การจัดการช่องทางการขาย เพื่อก่อให้เกิดธุรกรรมการซื้อขายที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อสินค้า และเป้าหมายขององค์กรที่ขายสินค้านั้น การตลาดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย ทั้งในด้านของการกำหนดตลาดเป้าหมาย การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย การจัดทำแผนการขายที่เหมาะสม การรักษาฐานการตลาด และการขยายฐานการตลาดเป้าหมาย เป็นต้น
การตลาดที่เกี่ยวข้องกับตลาดระหว่างประเทศ อาจพิจารณาได้ในระดับที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing), การตลาดหลายประเทศ (Multinational marketing), และการตลาดระดับโลก (Global marketing) การบริหารการตลาดระหว่างประเทศในรูปแบบแบบพื้นฐานที่สุด ธุรกิจอาจมีมุมมองในลักษณะที่มีจุดเริ่มต้นจากความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจภายในประเทศก่อน แล้วจึงค่อยขยายการขายเข้าสู่ตลาดต่างประเทศผ่านการส่งออกเฉพาะตัวสินค้าก่อน แผนการตลาดในช่วงต้นๆยังเน้นไปที่การรักษารูปแบบการตลาดท้องถิ่นไว้เป็นหลักก่อน กระทั่งเมื่อมีความพร้อมจึงขยายการส่งออกไปในหลายประเทศมากขึ้น รวมทั้งเข้าไปมีบทบาทในการบริหารจัดการการตลาดในประเทศเป้าหมายโดยตรงโดยปรับแผนการตลาดให้เหมาะกับตลาดในแต่ละประเทศเป้าหมายอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น ในท้ายที่สุดก็ปรับรูปแบบการบริหารทางการตลาดไปเป็นแบบบูรณาการในระดับโลก โดยปรับส่วนผสมทางการตลาดให้สอดคล้องกับรสนิยมและความต้องการของลูกค้าในตลาดเป้าหมาย รวมทั้งการบริหารอย่างยืดหยุ่นและบูรณาการให้สามารถเผชิญกับการแข่งขันที่มีระดับแตกต่างกันในตลาดของแต่ละประเทศได้


วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า

CRM Solution โปรแกรมบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าและ Call Center

Customer Relationship Management (CRM)
การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า (Customer Relation Management : CRM)คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างการใช้ระบบสารสนเทศ ใช้งานสลับข้ามหน้าที่กันได้ในองค์กร นั่น คือ การรวมเอาระบบอัตโนมัติหลาย อย่าง มาอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ไม่ว่า จะเป็นการขาย การตลาด และการบริการ ซึ่งลูกค้าสามารถได้รับการโต้ตอบจากคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หรืออีกนัยหนึ่ง CRM คือ การสร้างขอบข่ายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นมา โดยมีซอฟท์แวร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการ ทำงานและฐานข้อมูลขึ้นมาเพื่อช่วยปฏิบัติการทางธุรกิจ เรียนรู้ความต้องการของลูกค้า จัดเก็บพฤติกรรม การบริโภคของลูกค้า และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าและธุรกิจระบบ CRM ทำให้พนักงานสามารถ ทำงานได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย วางใจได้ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกด้านการบริการให้แก่ ลูกค้า งานหลักของระบบการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ามีดังต่อไปนี้
การจัดการเรื่องการติดต่อ (Contact Management) ซอฟท์แวร์ CRM จะช่วยในด้านการขาย การตลาด การบริการอย่างมืออาชีพ และช่วยเก็บข้อมูลลูกค้า ซึ่งมีความสัมพันธ์กันที่ผ่านมาเอาไว้ เพื่อนำมาช่วยวางแผนในการเป็นช่องทาง ในการติดต่อกับลูกค้า ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับการทำธุรกิจติดต่อกับลูกค้าแบบครบวงจร สารสนเทศที่ดึงดูดลูกค้าก็คือ สิ่งที่ลูกค้าสามารถใช้งานได้ง่าย เช่น โทรศัพท์ โทรสาร จดหมายอิเลกทรอนิคส์ เว็ปไซต์ การขายปลีก การรับข้อมูลจากจุดบริการและการติดต่อส่วนบุคคล ระบบ CRM จะจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งรวมกันเป็นสารสนเทศบัญชีลูกค้า (Customer Account Information) และให้ลูกค้าติดต่อกับบริษัทได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเครือข่ายอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงไปยังการขาย การตลาด การบริการ และการประยุกต์ใช้ในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าในลักษณะอื่น ๆ

การขาย (Sales Management) ระบบ CRM ช่วยจัดการด้านการขายด้วยซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ และข้อมูลของบริษัทยังมีประโยชน์นำมาช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการขาย ซึ่งทำให้การขายสามารถขายได้สูงขึ้น ระบบสนับสนุนที่ว่านี้ รวมไปถึงโอกาสการขาย สารสนเทศของผลิตภัณฑ์ ลักษณะของผลิตภัณฑ์และความสามารถในการอ้างการขาย ระบบ CRM นั้นสามารถเข้าถึงได้ด้วยระบบออนไลน์ ซึ่งลูกค้าสามารถเข้ามาตรวจเช็ค สถานะทางบัญชี ประวัติต่าง ๆ ได้และแจ้งยอดขายผ่านธนาคาร ลูกค้าสามารถโทรเข้ามาฝากเงินตาม ยอดขายของตนเอง หรือ การลงทุนที่ตนเองได้ลงทุนกับบริษัทเอาไว้ได้

การตลาด (Marketing Management) ระบบ CRM ช่วยให้การทำการตลาดแบบมืออาชีพประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นการ ช่วยส่งเสริมการขายได้โดยตรงด้วยระบบอัตโนมัติ เช่น ทำให้การตั้งเป้าหมาย ทางการตลาดได้รับผลดี ช่วยในการจัดตาราง ทำการตลาด และช่วยติดตาม การส่งอีเมล์ไปยังลูกค้าได้โดยตรง ระบบ CRM เป็นซอฟท์แวร ์ช่วยด้านการทำตลาด และลูกค้าสามารถได้รับข้อมูลตอบกลับ จากระบบฐาน ข้อมูล อีกทั้งยังช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ นอกจากนี้ระบบ CRM ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ เช่น เมื่อลูกค้าทำการร้องขอข้อมูลเข้ามา จะได้รับการตอบกลับอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อเรื่องการขายหรือการบริการ

การบริการและการสนับสนุนลูกค้า (Customer Service and Support) ระบบ CRMช่วยจัดการด้าน การบริการด้วยซอฟท์แวร์ที่ สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล ของลูกค้าได้ด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ สามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ เช่น ฐานข้อมูลการขาย และการตลาด แบบมืออาชีพ ระบบ CRM ช่วยสนับสนุนลูกค้า โดยที่ผู้บริหาร สามารถเพิ่มปรับปรุง, มอบหมายงาน, และจัดการการร้องขอด้านการบริการที่ลูกค้าร้องขอเข้ามาได้ ซอฟท์แวร ์ศูนย์กลางโทรศัพท์ (Call Center) เหมือนเป็นตัวแทนสนับสนุนบริการลูกค้า ซึ่งมีความชำนาญและมีสิทธิ์อำนาจตามแต่ละชนิดของการบริการร้องขอ ซอฟท์แวร์ ช่วยทำงานบนโต๊ะ (Help Desk) ช่วยในการบริการลูกค้า ซึ่งมีปัญหา เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้า และ การบริการช่วยจัดการข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กัน ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า อีกประการหนึ่ง ยังมีการพัฒนาเว็ปไซต ์ขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าสามารถ ช่วยเหลือตนเองได้ และสามารถเข้าถึง ข้อมูลของบริษัทได ้เป็นการส่วนบุคคล

ระบบการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า (CRM) นี้ จะเป็นการสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับธุรกิจและลูกค้าได้เป็นอย่างมาก ทำให้พนักงานสามารถทำงาน ได้รวดเร็วขึ้น ลูกค้าประทับใจกับการบริการที่สะดวกรวดเร็ว และยังช่วย ผูกสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างดีต่อการทำธุรกิจในยุคที่มีการแข่งขันสูงดังเช่นในปัจจุบัน