การจัดการ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดการสมัยใหม่ทางด้านการผลิต

                 ในธุรกิจปัจจุบัน นอกจากการแข่งขันสูงแล้ว ผู้ผลิตยังต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิต เช่น ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน ค่าแรงงาน ต้นทุนทางการเงิน ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้ราคาขายสูงขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตจึงพยายามคิดค้นและหาวิธีการที่จะลดต้นทุนผลิต เพื่อผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับจากาการผลิตและจำหน่ายสินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น การจัดการการผลิตซึ่งเริ่มตั้งแต่การออกแบบ การเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจจะต้องคำนึงถึง

 การเพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิตโดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่าย คือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่เพียงพอกับจำนวนผลผลิตที่เพิ่มขึ้น หรือค่าใช้จ่ายเท่าเดิม แต่ได้ผลผลิตมากขึ้นหรือค่าใช้จ่ายลดลงแต่ได้ผลผลิตเท่าเดิม เป็นสิ่งที่เป็นเป้าหมายขององค์กรที่ผลิตสินค้าโดยทั่วไป
ความหมายของการเพิ่มผลิต คือ อัตราส่วนระหว่างผลผลิต (Out put) ต่อปัจจัยการผลิต (Input) ที่ใช้ไป
การเพิ่มผลผลิต (Productivity ) = ผลผลิต (Out put)


ปัจจัยการผลิต
ผลผลิตที่นำมาใช้ต้องไม่เป็นของเสีย ของค้างสต็อก เพราะไปก่อให้เกิดรายได้ซึ่งอัตราส่วนระหว่างผลผลิตและปัจจัยการผลิต สามารถนำมาเป็นแนวทางในการเพิ่มผลิตได้ดังนี้
1. ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม คือ Out put มากขึ้นแต่ Input เท่าเดิม แนวทางนี้มักใช้ในการเพิ่มผลิตในสภาวะเศรษฐกิจ อยู่ในสภาพปกติ หาวิธีการปรับปรุงการเพิ่มผลิตเข้ามาช่วย เช่น การอบรมทักษะการทำงาน การบริหารงานด้วยระบบคุณภาพ กิจกรรม 5 ส. กิจกรรม QCC ฯลฯ เป็นการเพิ่มผลิตให้มีค่าสูงขึ้น โดยไม่เพิ่มปัจจัยการผลิต
2. ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยการผลิตน้อยลง คือ Out put เพิ่มแต่ Input ลดลง แนวทางนี้ช่วยให้การเพิ่มผลผลิตมีค่าสูงสุด มากกว่าวิธีอื่น ๆ ต้องพยายามปรับปรุงกระบวนการผลิต วิธีการทำงานทั้งหมด จนไม่มีการสูญเสียในกระบวนการผลิต ลดความสูญเสียที่เกิดจากการรั่วไหลให้มากที่สุด ประหยัดลดค่าใช้จ่ายกันทุกจุด
3. ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยการผลิตสูงขึ้น ในอัตราที่น้อยกว่าการเพิ่มของผลผลิต คือ Out put เพิ่ม แต่ Input เพิ่มน้อยกว่า แนวทางนี่ใช้ในสภาวะเศรษฐกิจกำลังเติบโต ต้องการขยายกิจการ ซื้อเครื่องจักรเพิ่ม จ้างแรงงานเพิ่ม ใช้เทคโนโลยีช่วยในการผลิต และเมื่อเทียบกับผลผลิตที่เพิ่มแล้ว เพิ่มมากกว่าการเพิ่มของปัจจัยการผลิต
4. ทำให้ผลผลิตเท่าเดิม แต่ปัจจัยการผลิตลดลง คือ Out put คงที่แต่ Input ลดลง แนวทางนี้ไม่มุ่งเพิ่มผลผลิต แต่มุ่งลดปัจจัยการผลิต คือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะกับช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย เช่น การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ขจัดเวลาที่สูญเสีย ประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่ใช้อย่างประหยัดลดความฟุ่มเฟือย หาจุดรั่วไหล และป้องกันแก้ไข
5. ทำให้ผลผลิตลดลงจากเดิม แต่ปัจจัยการผลิตลดมากกว่า การลดลงผลผลิต คือ Out put ลดลง Input ลดลงมากกว่า แนวทางนี้ใช้ในสภาวะที่ความต้องการของสินค้า หรือบริการในตลาดลดลง เช่น สภาวะเศรษฐกิจถดถอย คนไม่มีกำลังซื้อ สินค้าฟุ่มเฟือยขายไม่ค่อยได้ ผู้ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตลง และพยายามลดปัจจัยกาผลิตให้มากกว่า
แนวทางทั้งหมดไม่สามารถได้อย่างแน่ชัดว่า มีความเหมาะสมอย่างใดเพราะต้องพิจารณาทั้งผลผลิตและปัจจัยการผลิตร่วม เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม


วงจรการเพิ่มผลผลิต (Productivity Cycle) 
หมายถึง การดำเนินการเพิ่มผลผลิต โดยมีกระบวนการที่ต่อเนื่องกันเป็นวงจรดังนี้



1. การวัดผลงาน หรือการจัดการเพิ่มผลผลิต (Measurement) ในทางอุตสาหกรรมจะวัดเพียงผลผลิตที่เป็น Output อย่างเดียวไม่ได้ เพราะผลผลิตเกิดจากการใช้ทรัพยากร (Input) หน่วยผลการดำเนินงานจึงใช้วัดด้วยดัชนี ผลิตภาพ หรืออัตราผลิตภาพ ซึ่งอยู่ในรูปของอัตราส่วนเสมอและการวัดจะเป็นช่วงเวลา คือ ได้ทรัพยากรคุ้มค่าไม่เกิดการสูญเสีย และการผลิตสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
- ผลิตผล คือการผลิตที่ต้องการหรือบริการ จะมองได้ในแนวที่กว้างและลึก โดยพิจารณาวัตถุประสงค์หลัก
- ปัจจัยการผลิต คือทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการผลิตสินค้า หรือบริหารปัจจัยการผลผลิตที่ใช้ในการวัดการเพิ่มผลิต เช่น เวลาทำงาน พลังงานที่ใช้ไปในการบริหารงาน งบประมาณค่าโสหุ้ยต่าง ๆ
2. การประเมินผลงาน (Evaluation) คือการนำเอาค่าการเพิ่มผลิตที่วัดได้มาใช้ประเมิน เปรียบเทียบกับระดับรายผลิตภาพที่เป็นผลงานนี้ จะทำให้สามารถกำหนดค่าระดับอัตราผลิตภาพ ที่เป็นเป้าหมายที่จะจัดเตรียมแผนงาน เพื่อรองรับในช่วงเวลาต่อไป การประเมินผลงานเป็นเทคนิคการบริหารงานอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยในการเพิ่มผลผลิต โดยการพัฒนาระบบการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีวิธีการเปรียบเทียบองค์ประกอบของงานด้วย
3. การวางแผน (Planning) คือการวางแผนการผลิต โดยการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิต เพื่อตอบสนองการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ จากการผลิต เช่น ปัญหาจากการรอคอยวัตถุดิบ อุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญหาการผลิตไม่ตรงตามความต้องการ และไม่ตรงตามกำหนดเวลา ปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากรการผลิต ฯลฯ ซึ่งการวางแผนการผลิตต้องมีข้อมูลเดียวกับเป้าหมายการผลิตกระบวนการผลิต กำลังการผลิตของเครื่องจักร ข้อมูลด้านวัตถุดิบ เพื่อนำมาจัดทำตารางการผลิต ซึ่งต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ
4. การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) การปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใหม่หลังจากการประเมินผลงาน เปรียบ เทียบในช่วงเวลาที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้มีหลายวิธี แต่จะเลือกวิธีไหนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น
การปรับปรุงเพิ่มผลผลิต สามารถทำได้ 2 วิธี
1. นวัตกรรม (Innovation) การผลิตแบบเดิมผู้ผลิตมีน้อยภาพตลาดเป็นของผู้ผลิต แต่ในปัจจุบันตลาดเป็นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีอำนาจในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตนเองพึงพอใจ ซึ่งผู้ผลิตต้องมีนวัตกรรมใหม่คิดในสิ่งที่ใหม่ นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตแบบตะวันตก ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้เงินเป็นจำนวนมากหรือเงินทุนมหาศาล เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในการทำงาน เช่น การซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะสูง มีกำลังการผลิตมาก มีความถูกต้องแม่นยำ ควบคุมทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมุ่งเน้นผลลัพธ์หลังจากปรับปรุง ที่คาดหวังว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาก ได้ผลตอบแทนที่สูง สามารถเอาชนะคู่แข่งทางการค้าได้ เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ คุ้มค่ากับเงินและเวลาที่ทุ่มเทไปเป็นจำนวนมาก การปรับปรุงด้วยวิธีนี้ ให้ความสำคัญกับพนักงานในระดับมันสมอง ซึ่งเป็นวิศวกรรมหรือหัวหน้างานขึ้นไป ส่วนพนักงานระดับปฏิบัติการจะทำงานมาตรฐานที่กำหนดให้เท่านั้น
2. ไคเซ็น (Kaizen) มาจากภาษาญี่ปุ่น เป็นการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตแบบญี่ปุ่น คือการปรับปรุงวิธีการทำงาน และระบบงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย เกิดผลการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นที่ไม่มากนัก แต่ต้องกระทำไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลที่มากขึ้นตามขึ้นมาในระยะยาว การปรับปรุงนี้มีแนวคิดที่เชื่อในพลังความคิด และการมีส่วนร่วมของคนทุกระดับที่เสนอความคิดเห็น วิธีการปรับปรุงเพิ่มผลผลิตแบบไคเซ็นนี้ เช่น 5 ส., QCC, ระบบข้อเสนอแนะ, การผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT) , การบำรุงรักษาโดยรวม (TIM), TQC, TOM ฯลฯ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น