การจัดการ

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดการกับปัญหาความเครียดในการทำงาน

การจัดการกับปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาความเครียดในการทำงาน 2 ปัจจัย นั่นก็คือ

- ภาระงาน (Psychological Demands)
- การควบคุมจัดการ ( Decision Latitude [control] )


1. ภาระงาน (Psychological Demand)

คือ ภาระงานหรือความคาดหวัง ที่ส่งผลกระทบกับแต่ละบุคคล ซึ่งงานที่ทำให้เกิดภาระงานสูงได้แก่
- ปริมาณงานมากเกินไป
- เงื่อนไขตามระยะเวลาที่กำหนดน้อยเกินไป
- ลักษณะงานที่ต้องทำด้วยความเร่งรีบ
- งานที่มีลักษณะซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย
- ลักษณะทางกายภาพที่ต้องฝืนบังคับ เช่น การทำงานท่าเดียวนานๆ

2. การควบคุมจัดการ (Decision Latitude )
คือ ความสามารถของบุคคลในการที่จะตอบสนองภาระงาน  ยกตัวอย่าง เช่น
- ความสามารถในการมอบหมายงาน
- มีอำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหา
- สามารถที่จะปรับเปลี่ยนสภาพงานให้ตรงกับความคาดหวังของแต่ละบุคคล

จากปัจจัยทั้ง 2 อย่างข้างต้น จะได้มาเป็น The Karasek Model ดังภาพนี้



ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ความเครียดออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. ความเครียดสูง

เป็นกลุ่มที่มีภาระงานสูง แต่มีความสามารถในการจัดการต่ำ
ส่งผลให้เกิดอาการทางกาย และทางจิต เช่น
- เหนื่อยล้า
- วิตกกังวล
- ซึมเศร้า
- ท้อแท้
- โรคจิตเวช

2. กระตือรือร้น
เป็นกลุ่มที่มีภาระงานสูง แต่ขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการจัดการควบคุมที่สูง
ความเครียดในกลุ่มนี้ อยู่ในระดับ ปานกลาง
ลักษณะงานจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ มีความก้าวหน้าในการทำงาน มีแรงจูงใจที่จะทำงานให้สำเร็จ
ตัวอย่าง อาชีพ ในกลุ่มนี้ เช่น
- งานในอาชีพที่มีความก้าวหน้าสูง
- งานในตำแหน่งสูง ฝ่ายบริหาร หรือเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างๆ
- ผู้พิพากษา ,ศาสตราจารย์ ,วิศวกร เป็นต้น

3. ความเครียดต่ำ
งานที่มีภาระงานต่ำ และมีการควบคุมที่สูง จะส่งผลให้เกิดความเครียดน้อย
เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความสามารถ และมีความชำนาญเป็นพิเศษ
ตัวอย่าง อาชีพ เช่น
- นักวิทยาศาสตร์
- วิทยากร
เป็นต้น

4. เฉื่อยชา
งานที่มีภาระงานต่ำ และ การควบคุมต่ำ ผู้ปฏิบัติงานถูกปฏิเสธแนวความคิดริเริ่มต่างๆ ส่งผลให้
- ขาดแรงจูงใจ
-ไม่อยากเรียนรู้ เพิ่มเติม

ตัวอย่างอาชีพที่มีลักษณะลักษณะงาน เช่นนี้ คือ
- งานเสมียน - งานขับรถ ขนส่ง - งานบริการบุคคลอื่น เช่น ภารโรง

จากทฤษฏีข้างต้น เราก็จะทราบได้ว่า ความเครียดจะมากขึ้นหากภาระงานสูง และ ความสามารถในการควบคุมต่ำ เราสามารถนำมาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเครียดในการทำงาน ได้ดังนี้
1.  การกำหนดภาระงานให้เหมาะสม
2. เพิ่มความสามารถของพนักงานในการบริหารจัดการงานที่รับผิดชอบ
3. จัดสภาพการทำงานที่เอื้ออำนวยและมีการสนับสนุนทางสังคม
4. จัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม
5. จัดสวัสดิการ หรือ บริการ เพื่อให้การช่วยเหลือพนักงาน


ที่มา http://forums.thaisafetywork.com/index.php?topic=1234.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น