การจัดการ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดการกับอารมณ์ตนเอง

         การควบคุมอารมณ์ คือ การเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสมสร้างสรรค์ และเป็นที่ยอมรับของสังคม นักเรียนอยู่ในช่วงวัยรุ่นที่มีอารมณ์ไม่มั่นคงนัก จึงมักสูญเสียการวบคุมตนเองได้ง่าย

         การควบคุมอารมณ์ไม่ใช่เป็นการเก็บกด ไม่แสดงออกทางอารมณ์เลย แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะจัดการกับสถานการณ์อย่างมีเหตุผล แสดงออกในทางที่สังคมยอมรับ และมีผลเสียต่อตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจน้อยที่สุด ฉะนั้นการที่วัยรุ่นแสดงความก้าวร้าว หรือเก็บกดอารมณ์เอาไว้ จึงมิใช่การควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสม เพราะความก้าวร้าวนั้นสังคมไม่ยอมรับ ในขณะเดียวกันการเก็บกดอารมณ์ก็ย่อมเกิดผลเสียด้านจิตใจต่อตัววัยรุ่นเอง

         ดังนั้นวัยรุ่นควรเรียนรู้ความเหมาะสมในการแสดงอารมณ์ในแบบที่สังคมยอมรับ

การควบคุมอารมณ์มี 2 ด้าน ได้แก่
1. การควบคุมวิธีการแปลความหมายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราให้เกิดอารมณ์
2. ควบคุมการแสดงออกต่อเหตุการณ์นั้นๆ

การช่วยให้วัยรุ่นควบคุมอารมณ์ มีแนวทางปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. ให้วัยรุ่นยอมรับว่ามีอารมณ์ และกำลังพยายามควบคุมอยู่
2. ใช้สติปัญญาพิจารณาการตอบสนองทางอารมณ์ตามความจริง เช่น ถ้ากำลังอิจฉาก็ให้ยอมรับว่าอิจฉา แม้ว่าจะพยายามปกปิดคนอื่นอยู่ก็ตาม แล้วก็พิจารณาตามความเป็นจริง โดยไม่มีอคติเข้าข้างตนเอง และระบายความไม่พอใจต่างๆ ด้วยการพูดออกมาถึงความรู้สึกที่มีอยู่นั้นกับคนที่เข้าใจ สามารถพูดคุยกันได้ หรืออาจใช้เทคนิคการผ่อนคลายอารมณ์ ก็จะสามารถควบคุมอารมณืไว้ได้มาก
3. พิจารณาที่สาเหตุ หลีกเลี่ยงสาเหตุ และหาแนวทางปรับใจเพื่อเผชิญกับอารมณืทางลบ

         สรุปได้ว่า อารมณ์ทุกอารมณ์นั้นเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยอารมณ์ในแง่ลบ เช่น อารมณ์โกรธ และอารมณ์เศร้าที่มักทำให้เกิดผลเสียต่อบุคคลมาก ดังนั้นบุคคลจึงควรที่จะสำรวจตัวเอง และยอมรับว่าตนเองกำลังอยู่ในสภาวะอารมณ์อะไร และฝึกหัดที่จะระบายและควบคุมตัวเองได้อย่างเหมาะสม และเป็นไปในทางสร้างสรรค์ หรือรู้จักที่จะยับยั้งหรือควบคุมอารมณืที่ไม่เหมาะสมให้ได้ 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น