การจัดการ

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก

                    ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก (Proactive Environmental Strategic, PES) คือการวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสำหรับโรงงานหรือสถานประกอบการ เพื่อให้มีการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เน้นการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้ดีกว่ามาตรฐานที่กฏหมายกำหนด โดยใช้มาตรการป้องกันและลดการเกิดของเสียที่แหล่งกำเนิด (รูปที่ 1) เนื่องจากปัจจุบันประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อธุรกิจการค้ามากขึ้น ผู้บริโภคมีความอ่อนไหวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและยินดีที่จะอุดหนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังรูปที่ 2


รูปที่ 1 ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก 

                    รูปที่ 2 แรงผลักดันในการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกของสถานประกอบการ


                    นักบริหารยุคใหม่เชื่อว่า การดำเนินยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมเชิงรุกนี้จะช่วยหนุนให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะที่โลกประสบปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้ทรัพยากรที่เกินพอดี ปัญหามลพิษ สภาวะโลกร้อน การลดถอยของชั้นโอโซน โดยผู้ประกอบการต้องเป็นฝ่ายริเริ่ม เป็นตัวตั้งตัวตีในการริเริ่มปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่รีรอให้มีกฎหมายบังคับหรือไม่ต้องรอให้มีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงค่อยมีการปฏิบัติตามทีหลัง ดังนั้นโรงงานที่มีการดำเนินยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกจะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการป้องกันมลพิษ และสร้างคุณค่าสินค้าโดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (รูปที่ 3)
รูปที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                                                  รูปที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
            การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกต้องสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงผลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลต่อธุรกิจได้ในอนาคต เมื่อผู้ประกอบการมีการจัดทำและดำเนินตามยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแล้ว จะได้รับผลประโยชน์จากการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ดังนี้
  • ช่วยลดลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยมีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต
  • สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์กร เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม โดยส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดี รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
  • เพิ่มโอกาสด้านการขยายตลาดและดำเนินธุรกิจใหม่ในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การเจรจาทางด้านการค้าสะดวกยิ่งขึ้น
  • ลดการเกิดอุบัติเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีแผนรองรับสำหรับแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากสถานการณ์ดังกล่าว ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดค่าฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และ เพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และ เพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทชั้นนำของโลกและบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกสำหรับบริษัทตนเองซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงกับความสามารถทางสมรรถภาพด้านสิ่งแวดล้อมและงบประมาณในการดำเนินการ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้จัดทำโครงการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกให้ บริษัทในกลุ่มปิโตรเคมิคอล จำกัด (มหาชน) พบว่าหัวใจหลักของการพัฒนายุทธศาสตร์ คือ การกำหนดเป้าหมายและการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ซึ่งการวางแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีจะต้องมีข้อมูลที่บ่งชี้สมรรถภาพทางสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ชัดเจน ต้องจัดทำระบบตรวจสอบที่แจกแจงกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งสามารถสะท้อนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ถือผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้อง โดยเป้าหมายของนโยบายที่กำหนดจะต้องเป็นไปตามกฏระเบียบและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท ดังรูปที่ 4
การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกต้องสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงผลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลต่อธุรกิจได้ในอนาคต เมื่อผู้ประกอบการมีการจัดทำและดำเนินตามยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแล้ว จะได้รับผลประโยชน์จากการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ดังนี้
  • ช่วยลดลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยมีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต
  • สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์กร เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม โดยส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดี รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
  • เพิ่มโอกาสด้านการขยายตลาดและดำเนินธุรกิจใหม่ในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การเจรจาทางด้านการค้าสะดวกยิ่งขึ้น
  • ลดการเกิดอุบัติเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีแผนรองรับสำหรับแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากสถานการณ์ดังกล่าว ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดค่าฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และ เพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และ เพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทชั้นนำของโลกและบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกสำหรับบริษัทตนเองซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงกับความสามารถทางสมรรถภาพด้านสิ่งแวดล้อมและงบประมาณในการดำเนินการ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้จัดทำโครงการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกให้ บริษัทในกลุ่มปิโตรเคมิคอล จำกัด (มหาชน) พบว่าหัวใจหลักของการพัฒนายุทธศาสตร์ คือ การกำหนดเป้าหมายและการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ซึ่งการวางแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีจะต้องมีข้อมูลที่บ่งชี้สมรรถภาพทางสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ชัดเจน ต้องจัดทำระบบตรวจสอบที่แจกแจงกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งสามารถสะท้อนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ถือผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้อง โดยเป้าหมายของนโยบายที่กำหนดจะต้องเป็นไปตามกฏระเบียบและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 การพัฒนาเป้าหมายและการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก


                         รูปที่ 4 การพัฒนาเป้าหมายและการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก 
                การกำหนดเป้าหมายสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปจะมุ่งเน้น ให้ความสำคัญที่สุดในการกำจัดหรือลดสิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย ได้แก่ การลดมลพิษต่างๆ ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ด้วย สามารถสะท้อนความต้องการและช่วยบริษัทแลกเปลี่ยนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท และได้ตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ ซึ่งการดำเนินตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก บริษัทฯจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมในระดับกรรมการบริหาร เพื่อกำหนดแผนนโยบาย เพื่อปฎิบัติต่อไป ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องริเริ่มมาตรการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ตามลำดับความสำคัญและความต้องการของตลาด ซึ่งตัวอย่างแนวคิด ได้แก่ ประสิทธิภาพด้านพลังงาน (Energy Efficiency) การตรวจวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม (Eco-Audit) การจัดทำฉลากสีเขียว (Eco-Label) การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Design for Environment) ฉลากคาร์บอน (Carbon footprint) และการลดEcological footprint และอื่นๆ
ที่มา http://www.eng.chula.ac.th/newsletter/index.php?q=node/291

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น