การจัดการ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

โลจีสติกส์ในการบริหารอุตสาหกรรม

  การบริหารงานอุตสาหกรรมเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวของกับตัวผลิตภัณฑ์หรือสินค้าโดยตรง ซึ่งมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบสายการผลิต การออกแบบขั้นตอนการผลิต การควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิต การบำรุงรักษาเครื่องจักร การควบคุมมลภาวะสิ่งแวดล้อมอันเกิดกาจกระบวนการผลิต การเพิ่มผลิตภาพ การนำระบบคุณภาพมาใช้ในกระบวนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การจัดเก็บวัตถุดิบ การบรรจุภัณฑ์ การกระจายสินค้า ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการบริหารงานภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต
          การพัฒนาการบริหารทางการจัดการได้คิดค้นเครื่องมือวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมสู่การพัฒนาธุรกิจ เช่นเดียวกันกับการบริหารงานอุตสาหกรรม ได้นำเครื่องมือทางการพัฒนาบริหารที่นักคิดสมัยใหม่ได้นำแนวคิดทางการจัดการของทหารมาใช้ นั่นคือ การส่งกำลังบำรุงหรือมีชื่อที่เรียกว่า Logistics มาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม โดยการรวบรวมองค์ความรู้หรือวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องกันอันได้แก่ การจัดการการจัดซื้อ การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้า การจัดการการขนส่ง และการจัดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งศาสตร์เหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมกับการควบคุมต้นทุนด้วยการเงินการบัญชี เราจึงเรียก Logistics ว่าสหวิทยาการ เป็นการบูรณาการวิชาการต่างๆ เพื่อมาช่วยให้การบริหารอุตสาหกรรม เกิดความคล่องตัว ดังนั้นเพื่อความเข้าในใจศาสตร์นี้มากยิ่งขึ้น เราจะมาเรียนรู้แนวคิด การจัดการโลจีสติกส์และซัพพลายเชน(Logistics and Supply Chain Management) ดังนี้
         การดำเนินธุรกิจในรูปอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ อุตสาหกรรมการผลิต(Production Industry)และ อุตสาหกรรมการบริการ (Service Industry)ซึ่งผลผลิต (Output)หรือผลลัพธ์ (Outcome)ของอุตสาหกรรมทั้งสองมีความแตกต่างกัน  แต่ในแง่ของขบวนการหรือกระบวนการมีความคล้ายคลึงกัน สำหรับผลผลิต หรือผลลัพธ์อาจจะแบ่งออกเป็น สิ่งที่จับต้องได้ กับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เป็นการมองเชิงภาพโดยรวมในแนวคิดทางการจัดการด้านการตลาด เพื่อจะทำ STP Model เพราะการตลาดก่อให้เกิดลูกค้า ทำอย่างไรให้ลูกค้าเกิดความต้องการ ผลผลิตหรือผลลัพธ์ จากอุตสาหกรรม เมื่อเกิดความต้องการแล้ว ส่งต่อไปยัง ผู้ผลิต ผู้ที่ทำให้เกิดผลผลิต หรือผลลัพธ์ ผู้ผลิตจะทำการวางแผนการผลิต เพื่อสั่งชิ้นส่วน, วัสดุ, อุปกรณ์ จากผู้ขาย และทำการผลิต พร้อมกับวางแผนการกระจายผลผลิต หรือส่งมอบให้กับลูกค้า ตามที่กำหนด ความไหลลื่นของการส่งมอบจากผู้ขาย ไปสู่ผลิต และนำไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้อุปโภค ในเวลาที่ถูกต้อง ในสถานที่ที่ถูกต้อง ในปริมาณหรือจำนวนที่ถูกต้อง ในคุณภาพที่ถูกต้อง แนวคิดเหล่านี้ถูกเรียกว่า การจัดการโลจีสติกส์และซัพพลายเชน 
         เพื่อให้แนวคิดดังกล่าวเป็นรูปธรรมมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร ผู้เขียนขออธิบายให้เข้าใจความหมายของคำว่า การจัดการโลจีสติกส์และซัพพลายเชน ดังนี้
         ซัพพลายเชน (Supply Chain) แบ่งออกเป็น 2 คำ คือ ซัพพลาย (Supply) กับ เชน (Chain) ในทางเศรษฐศาสตร์ ซัพพลาย คือความต้องการที่จะขายของผู้ขาย สำหรับในความหมายของ การจัดการโลจีสติกส์และซัพพลายเชน มีความหมายดังนี้
         ซัพพลาย (Supply) คือการส่งมอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1 การส่งมอบสิ่งที่เป็นกายภาพ เช่นสิ้นค้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนในการประกอบ หรือ วัตถุดิบ 2 การส่งมอบข้อมูล เช่นข้อมูลแผนการผลิต ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า หรือ ข้อมูลสิ้นค้าคงคลัง เป็นต้น
         เชน (Chain) คือ Business Unit อาจจะเป็น Maker, Vender, Supplier, Manufacture, Dealer, Distributor, Wholesaler or Userเป็นต้น

         การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) คือ การจัดการเชิงบูรณาการ โดยการนำองค์ความรู้ในด้าน การจัดการการตลาด, การจัดการการเงิน และ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ Business Unit และการส่งมอบ (Supply) 



  


การจัดการโลจีสติกส์(Logistics Management)
         เมื่อเข้าใจภาพรวมของ การจัดการซัพพลายเชน(Supply Chain Management)ที่เกี่ยวเนื่องกับการไหลลื่นของการส่งมอบ (Supply) จาก Business Unit หนึ่งไปยังอีก Business Unit หนึ่ง โดยใช้ระบบสารสนเทศทางธุรกิจเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน และใช้องค์ความรู้ในด้านการจัดการการตลาด กับการจัดการทางการเงิน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผลกำไร และสนองต่อความต้องการของแต่ละ Business Unit
         การจัดการโลจีสติกส์(Logistics Management) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain โดยที่ Logistics เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับ แต่ละ Business Unit ซึ่งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Logistics สามารถอธิบายได้ดังภาพด้านล่าง ซึ่งเป็นตัวแบบพื้นฐานของ Logistic 
 เปรียบเทียบบทนิยามระหว่าง Logistics Management กับ Supply Chain Management
         การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)เป็นองค์ประกอบของการจัดการซัพพลายเชน คือ การวางแผน การปฏิบัติงาน และการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งล่วงหน้าและย้อนกลับ ของการเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บสินค้า การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภคสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้
         การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management)เป็นการประมวลการวางแผนและการจัดการกิจกรรมทั้งมวล ที่เกี่ยวข้องกับการเสาะหาและจัดหา การแปลงสภาพสินค้า และกิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ทั้งหมด ที่สำคัญได้รวมถึงการประสานงานและความร่วมมือกับช่องทางคู่ค้า ตั่งแต่ผู้ค้า ตัวกลาง ผู้ให้บริการบุคคลที่สามจนถึงลูกค้า
ที่มา 
http://blog.eduzones.com/alc/78422

1 ความคิดเห็น: