การจัดการ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั่วไป

การบริหารความเสี่ยงระดับต่าง ๆ กับเจ้าภาพ

การจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั่วไป
การจัดการความเสี่ยงขององค์กร ได้ถูกนำมาประยุกต์ในการกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร อันจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุ ประเมินและบริหารความเสี่ยงเมื่อต้องเผชิญอย่างคาดไม่ถึง และสนับสนุนการสร้างและรักษาค่านิยมขององค์กร การจัดการความเสี่ยงขององค์กร จะเป็นตัวสนับสนุนความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและกลยุทธ์ให้เป็นแนวทางเดียวกัน เชื่อมโยงความเสี่ยงกับความเติบโตและผลตอบแทน ส่งเสริมการตัดสินใจตอบสนองต่อความเสี่ยง ลดความตื่นตระหนักและความสูญเสียในการปฏิบัติการ ระบุและบริหารความเสี่ยงระหว่างสถานประกอบได้ สามารถตอบสนองความเสี่ยงที่ซับซ้อนอย่างบูรณาการได้ สามารฉกฉวยโอกาสและมีการลงทุนอย่างเหมาะสม
ทุกองค์กรต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน และความท้าทายสำหรับฝ่ายบริหารขององค์กรทั่วไป ก็คือการกำหนดระดับความไม่แน่นอนที่มีอยู่เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วม ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อศักยภาพและบั่นทอนหรือส่งเสริมคุณค่า การจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั่วไป จึงเป็นการสร้างกรอบของงานเพื่อให้ผู้บริหารได้จัดการกับความไม่แน่นอน ความเสี่ยงและโอกาสเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับองค์กรและผู้มีผลประโยชน์ร่วม การบริหารความเสี่ยงจะช่วยให้แน่ใจอย่างสมเหตุสมผลว่า องค์กรทั่วไปสามารถบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กรได้
องค์กรที่ดำเนินงานในสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เช่น โลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยี กฎระเบียบ การปรับโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงตลาด และการแข่งขันที่สร้างความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนมักถูกแสดงออกมาและสร้างขึ้นจากทางเลือกเชิงกลยุทธ์ ตัวอย่างเช่น องค์กรที่มีกลยุทธ์สร้างความเติบโตโดยมีพื้นฐานจากการขยายการดำเนินงานไปยังประเทศอื่น ทางเลือกเชิงกลยุทธ์นี้จะแสดงให้เห็นความเสี่ยงและโอกาสของการมีส่วนร่วมกับความมีเสถียรภาพของสภาพแวดล้อมทางการเมือง ทรัพยากร ตลาด ช่องทาง ความสามารถของแรงงาน และต้นทุนของประเทศนั้น
ความไม่แน่นอนนั้นเป็นไปได้ทั้งความเสี่ยงและโอกาส มีความเป็นไปได้ทั้งที่จะลดหรือเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร
การจัดการความเสี่ยง (Enterprise Risk Management – ERM) เป็นกรอบความคิดทางการบริหารเพื่อที่จะจัดการกับสภาวการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการสร้างโอกาสและคุณค่าให้กับองค์กร สำหรับความไม่แน่นอนขององค์กรทั่วไป ก็คือการที่องค์กรไม่อาจจะบรรลุพันธกิจตามแผนงานการบริหารงานที่กำหนดไว้ได้
คุณค่าและค่านิยมร่วม (Shared Value) จึงเป็นเป้าหมายสูงสุด ที่ถูกกำหนดและยอมรับจากทั้งผู้บริหาร และสมาชิกทุกคนขององค์กร โดยตั้งปรัชญาและค่านิยมที่จะปลูกฝังให้พนักงานทุกคนยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานในทางปฏิบัติ ดังนั้นค่านิยมร่วมกันจึงเป็นสิ่งที่พนักงานขององค์กรจะยึดถือร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะแสดงออกอย่างชัดเจน หรือต้องศึกษาและทำความเข้าใจเองจากสภาพแวดล้อมในองค์กร
ภาพต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงความโยงใยสัมพันธ์กันของพนักงานทุกคนในองค์กรที่มีค่านิยมร่วมกันในสภาพแวดล้อมขององค์กรเดียวกัน
คุณค่าและค่านิยมร่วม
คุณค่าและค่านิยมร่วม
การตัดสินใจของผู้บริหารจะสร้าง รักษา หรือให้คุณค่า ในทุกกิจกรรมจากการกำหนดการปฏิบัติงานในองค์กรในแต่ละวัน การตัดสินใจจะต้องตระหนักถึงความเสี่ยงและโอกาส ความต้องการที่ฝ่ายบริหารจะต้องพิจารณาข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
การสร้างคุณค่าเกิดขึ้นโดยการพัฒนาทรัพยากร อันประกอบด้วย บุคลากร ทุน เทคโนโลยี และ ความน่าเชื่อถือ เช่น แบรนด์ เป็นต้น เพื่อสร้างประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรให้มากขึ้นกว่าเดิม การรักษาคุณค่าโดยเน้นไปยัง บุคลากร กระบวนการ ระบบและการปฏิบัติเพื่อสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน ประกอบด้วยสิ่งอื่น ๆ เช่น คุณภาพของสินค้า ความสามารถในการผลิตและความพึงพอใจของลูกค้า คุณค่าอาจถูกบั่นทอนจากการปฏิบัติที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาส หรือโดยกลยุทธ์หรือการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอ
คุณค่าสามารถเพิ่มขึ้นได้เมื่อกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ของฝ่ายบริหารมีความสมดุลระหว่างการเติบโต วัตถุประสงค์ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ การจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั่วไป จะช่วยอำนวยความสะดวกในการระบุความต้องการของตลาด ความไม่เพียงพอและเหตุการณ์อื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการสร้างคุณค่าและความเสี่ยงต่อกลยุทธ์และความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
คุณค่าของการบริหารความเสี่ยง
1. การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล สามารถช่วยบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงในทุกระดับขององค์กร และช่วยให้การประเมินโอกาสเกิดและผลกระทบของความเสี่ยงที่มีคุณค่าขององค์กรมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วม
2. สามารถลดความสูญเสียและเพิ่มโอกาสให้กับองค์กร
3. ช่วยจัดการกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และสามารถกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
4. ความสำเร็จขององค์กร
การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล ควรตระหนักถึงคุณค่าที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งได้ถูกสร้าง รักษา หรือซ่อนเร้นอยู่ภายในการดำเนินงานปัจจุบัน และคุณค่าซึ่งซ่อนเร้นอยู่ในการตัดสินใจในอนาคต คุณค่าที่ซ่อนเร้น หมายถึงคุณค่าที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ โดยองค์กรไม่ได้นำออกมาใช้หรือกำลังหมดค่าไปในที่สุด
RM & BSC - KPI & Hidden Value
RM & BSC - KPI & Hidden Value
การวัดคุณค่าขององค์กร
การวัดคุณค่าจะเกี่ยวข้องกับคุณค่า ประโยชน์ หรือเรื่องที่สำคัญขององค์กรต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วม ผู้บริหารองค์กรหลายแห่งมักคิดถึงคุณค่าในลักษณะการวัดการเงิน เช่น กำไรทางเศรษฐศาสตร์ คุณค่าเพิ่มของผู้มีผลประโยชน์ร่วม การปรับความเสี่ยงจากผลตอบแทนจากทุนทรัพย์ หรืองบประมาณที่ได้รับจากทางการในกรณีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ และองค์กรมหาชน
คุณค่าขององค์กร จะเกิดขึ้นได้จากความน่าเชื่อถือในการบริหารงานโดยรวม ของคณะกรรมการบริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพในการดำเนินการให้ได้ตามแผนงาน และโครงการที่เกี่ยวข้องอย่างมั่นใจที่จะก้าวไปสู่พันธกิจและวิสัยทัศน์ตามที่กำหนดไว้ได้ ดังภาพที่เห็นด้านล่างนี้ แสดงถึงการบริหารความเสี่ยงกับการเพิ่มคุณค่าขององค์กรในระดับต่าง ๆ
แนวทางการพัฒนาและเพิ่มคุณค่าการบริหารความเสี่ยงระดับต่าง ๆ ขององค์กร
แนวทางการพัฒนาและเพิ่มคุณค่าการบริหารความเสี่ยงระดับต่าง ๆ ขององค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น